เมนู

แม้ขณะนั้น ฉะนั้น ท่านแม้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ก็ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ
โดยแท้ จำพวกที่สี่ ได้แก่พระขีณาสพเท่านั้น จริงอยู่ พระขีณาสพนั้น
ชื่อว่าทำให้บริบูรณ์ในศีลสมาธิและปัญญาทั้งหมด เพราะท่านละธรรมที่เป็น
ข้าศึกต่อศีลเป็นต้นทั้งหมดได้แล้ว.
จบอรรถกถาปฐมสีลสูตรที่ 7

7. ทุติยสีลสูตร


ว่าด้วยบุคคล 4 จำพวก


[137] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
4 จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลบางคนเป็นผู้ไม่หนักในศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีศีล สมาธิ
ปัญญาเป็นอธิปไตย 1
บุคคลบางคนเป็นผู้หนักในศีล มีศีลเป็นอธิปไตย แต่ไม่หนักใน
สมาธิ ปัญญา ไม่มีสมาธิ ปัญญาเป็นอธิปไตย 1
บุคคลบางคนเป็นผู้หนักในศีล สมาธิ มีศีล สมาธิ เป็นอธิปไตย
แต่ไม่หนักในปัญญา ไม่มีปัญญาเป็นอธิปไตย 1
บุคคลบางคนเป็นผู้หนักในศีล สมาธิ ปัญญา มีศีล สมาธิ ปัญญา
เป็นอธิปไตย 1
นี้แลบุคคล 4 จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบทุติยสีลสูตรที่ 7
แม้ในทุติยสีลสูตรที่ 7 พึงทราบการกำหนดบุคคล โดยนัยอันกล่าว
แล้วในปฐมสีลสูตรที่ 6.

8. นิกกัฏฐสูตร


ว่าด้วยบุคคล 4 จำพวก


[138] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
4 จำพวกเป็นไฉน คือ
นิกฺกฏฺฐากาโย อนิกฺกฏฺฐจิตฺโต บุคคลมีกายออก แต่จิตไม่ออก
อนิกฺกฏฺฐกาโย นิกฺกฏฺฐจิตฺโต บุคคลมีกายไม่ออก แต่จิตออก
อนิกฺกฏฺฐกาโย จ อนิกฺกฏฺฐจิตฺโต จ บุคคลมีกายก็ไม่ออก จิตก็ไม่ออก
นิกฺกฏฺฐกาโย จ นิกฺกฏฺฐจิตฺโต จ บุคคลมีกายก็ออก จิตก็ออก
บุคคลมีกายออก แต่จิตไม่ออกเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนเสพ
เสนาสนะป่าเงียบสงัด แต่บุคคลนั้นตรึกกามตกบ้าง พยาบาทวิตกบ้าง
วิหิงสาวิตกบ้าง ในเสนาสนะป่าเงียบสงัดนั้น อย่างนี้แล บุคคลมีกายออก
แต่จิตไม่ออก

บุคคลมีกายไม่ออก แต่จิตออกเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนมิได้
เสพเสนาสนะป่าเงียบสงัดเลย แต่บุคคลนั้นตรึกเนกขัมมวิตกบ้าง อพยาบาท-
วิตกบ้าง อวิหิงสาวิตกบ้าง ในเสนาสนะนั้น อย่างนี้แล บุคคลมีกายไม่ออก
แต่จิตออก

บุคคลมีกายก็ไม่ออก จิตก็ไม่ออกเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนมิได้
เสพเสนาสนะป่าเงียบสงัด ทั้งตรึกกามวิตกบ้าง พยาบาทวิตกบ้าง วิหิงสา-
วิตกบ้าง ในเสนาสนะนั้น อย่างนี้แล บุคคลมีกายก็ไม่ออก จิตก็ไม่ออก
บุคคลมีกายก็ออก จิตก็ออกเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนเสพ
เสนาสนะป่าเงียบสงัด ทั้งตรึกเนกขัมมวิตกบ้าง ตรึกอพยาบาทวิตกบ้าง ตรึก
อวิหิงสาวิตกบ้าง ในเสนาสนะนั้น อย่างนี้แล บุคคลมีกายก็ออก จิตก็ออก
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล 4 จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบนิกกัฏฐสูตรที่ 8